ข้อมูลพื้นฐาน
ประวัติและความเป็นมา
1 ตุลาคม 2558

0


ประวัติความเป็นมา

            องค์การบริหารส่วนตำบลตาเสา เป็นหน่วยงานซึ่งจัดตั้งขึ้น ตามพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537 ซึ่งกำหนดให้สภาตำบล ที่มีความพร้อมให้ได้รับการยกฐานะขึ้นจากสภาตำบล ในปี พ.ศ.2539 อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 40 แห่งพระราชบัญญัติแห่งสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ 2537

                เหตุที่ได้ชื่อ  ตาเสา  เพราะเมื่อสมัยรัชกาลที่  5  มีตาคนหนึ่งชื่อว่านายเสา  โดยไม่ทราบนามสกุล  มีเมียชื่อนางเมา  โดยไม่ทราบนามสกุล  มาจากที่แห่งไหนไม่มีใครทราบ มาอาศัยอยู่    สถานที่แห่งหนึ่ง  ชื่อว่า  โคกเก่า  จุดประสงค์ของตาเสาเพื่อมาทำมาหากินและตั้งรกรากอยู่    สถานที่แห่งนี้  แต่เมื่อมีคนมาอาศัยอยู่ด้วยเป็นจำนวนมาก  ตาเสาคนนี้จึงย้ายออกจากพื้นที่พร้อมกับเมีย  เพราะไม่ชอบอยู่กับคนหมู่มาก  จวบทุกวันนี้ก็ไม่มีใครทราบว่าตาเสาล้มหายตายจากไปไหน  ส่วนคนที่อยู่ต่อจากตาเสาก็อาศัยชื่อของตาเสาตั้งเป็นชื่อหมู่บ้าน  ชื่อว่า  บ้านตาเสา  และรายชื่อผู้ใหญ่บ้านสมัยนั้นก็มีต่อ    มาดังนี้

1.             นายมา           ทะรารัมย์

2.             นายพา           ทะรารัมย์

3.             นายปัน          เป่ารัมย์

4.             นายละมุด     ทะรารัมย์

5.             นายละมุน     อุตสาหรัมย์

6.             นายภูมิ          วงศ์สุรินทร์

7.             นายสิงห์        จีนรัมย์

8.             นายปูม          นิสังข์รัมย์

9.             นายไพ           เทวินรัมย์

10.      นายวิน           นะมิตรัมย์

ลักษณะโดยทั่วไปเป็นที่ราบสูงมีหนองน้ำเรียกว่า หนองตาเสา  ซึ่งตั้งชื่อตามตาคนนั้นที่มาอยู่ในพื้นที่ก่อนใครอื่น  ห่างจากตัวเมืองบุรีรัมย์ไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือประมาณ  30  กิโลเมตร  และพื้นที่ดังกล่าวก็มีคนเริ่มเข้ามาอยู่อาศัยเพื่อทำมาหากินและตั้งเป็นชุมชนมากขึ้นและมีเส้นทางเกวียนที่ใช้เป็น เส้นทางสัญจรไปมาระหว่างเมืองบุรีรัมย์กับชุมชน  จึงมีคนพูดกันติดปากว่า  ตาเสา  และเมื่อมีการจัดระเบียบการปกครองท้องที่ขึ้น  จึงได้รวบรวมเอาหมู่บ้านต่าง    ขึ้นเป็นตำบล  ตาเสา  ในปัจจุบันโดยใช้ชื่อตำบลตาเสาจากชื่อหมู่บ้านตาเสา

ตำบลตาเสาเป็นตำบลหนึ่งในตำบลของอำเภอห้วยราช  ซึ่งแยกจากตำบลสามแวงและได้รับการประกาศจากกระทรวงมหาดไทยแยกเขตการปกครองเป็นตำบลตาเสา  ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย  เรื่องตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่  อำเภอเมือง  จังหวัดบุรีรัมย์  และเมื่อพระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนแปลงเป็นแบ่งเขตการปกครองออกเป็น  10  หมู่บ้านและได้รับยกฐานะจากสภาตำบลบ้านตาเสาเป็นองค์การบริหารส่วนตำบลตาเสา  เมื่อเดือนมกราคม  ปี พ.ศ.2539

ข้อมูลพื้นฐานขององค์การบริหารส่วนตำบลตาเสา
30 พฤศจิกายน 542

0


ประชากร

จำนวนประชากรและความหนาแน่นของประชากร  จากข้อมูลการสำรวจจริง  ขององค์การบริหารส่วนตำบลตาเสา  ภายในเดือน กันยายน  พ.ศ.2561 พบว่า  มีประชากรที่อาศัยอยู่จริง  และที่ทำงานอยู่นอกพื้นที่  จำนวนทั้งสิ้น  5,172  คน จำแนกเป็นชาย  2,551  คน  หญิง  2,621 คน  มีความหนาแน่นเฉลี่ย  146.60  คน  ต่อตารางกิโลเมตร  และมีจำนวนครัวเรือนทั้งสิ้น  1,214  ครัวเรือน  ซึ่งจะดูได้จากตารางเปรียบเทียบ

จำนวนครัวเรือน

หมู่ที่

บ้าน

2559

2560

2561

1

ตาเสา

 

 

126

2

หว้า

 

 

104

3

ทานตะวัน

 

 

109

4

กระโดน

 

 

70

5

มะขาม

 

 

165

6

ตาเสา

 

 

165

7

ขาม

 

 

182

8

สามัคคี

 

 

91

9

หนองแวง

 

 

110

10

บ่อทอง

 

 

92

 

รวม

 

 

1,214

ที่มา :  สำนักบริหารการทะเบียน  กรมการปกครอง  อำเภอห้วยราช  จังหวัดบุรีรัมย์ 

ณ  เดือนกันยายน  พ.ศ. 2561

จำนวนประชากร

หมู่ที่

บ้าน

2559

2560

2561

ชาย

หญิง

รวม

ชาย

หญิง

รวม

ชาย

หญิง

รวม

1

ตาเสา

 

         

297

299

596

2

หว้า

 

         

215

216 431

3

ทานตะวัน

 

         

238

221 459

4

กระโดน

 

         

144

163 307

5

มะขาม

 

          338 350 688

6

ตาเสา

 

         

315

332 647

7

ขาม

 

          368 396 764

8

สามัคคี

           

198

190 388

9

หนองแวง

 

          221 236 457

10

บ่อทอง

 

          217 218 435

 

รวม

 

         

2,551

2,621

5,172

ที่มา :   สำนักบริหารการทะเบียน  กรมการปกครอง  อำเภอห้วยราช  จังหวัดบุรีรัมย์ 

ณ  เดือนกันยายน  พ.ศ. 2561

การศาสนา

ประชาชนในตำบลตาเสา  จะนับถือศาสนาพุทธ  โดยมีศาสนสถาน  3  แห่ง  คือ

1. วัดบ้านตาเสา  ตั้งอยู่ที่บ้านตาเสา  หมู่ที่ 1  โดยมี  พระมหาจำลอง จันทปัญโญ  เป็นเจ้าอาวาส

2. วัดบ้านมะขาม  ตั้งอยู่ที่บ้านมะขาม  หมู่ที่ 5 โดยมี  พระมหาสากล  กิตติปัญโญ  เป็นเจ้าอาวาส

3. วัดป่าสนวล  ตั้งอยู่ที่บ้านขาม  หมู่ที่ 7  โดยมีพระครูธรรมวรพินิจ  เป็นเจ้าอาวาส

 

สภาพทั่วไป
30 พฤศจิกายน 542

0


ทำเลที่ตั้งตำบล  ตำบลตาเสา  เป็น  1  ใน  7  ตำบลในเขตอำเภอห้วยราช  จังหวัดบุรีรัมย์  มีอาณาเขตพื้นที่อยู่ติดกับท้องถิ่นใกล้เคียง  4  ส่วน  คือ  ดังนี้

          ทิศเหนือ          จรด  ตำบลหนองใหญ่  อำเภอสตึก  จังหวัดบุรีรัมย์

          ทิศตะวันออก     จรด  ตำบลห้วยสำราญ อำเภอกระสัง  จังหวัดบุรีรัมย์

          ทิศตะวันตก      จรด  ตำบลปราสาท  อำเภอบ้านด่าน  จังหวัดบุรีรัมย์

          ทิศใต้             จรด  ตำบลเมืองโพธิ์  อำเภอห้วยราช  จังหวัดบุรีรัมย์

โดยตำบลตาเสา  อยู่ห่างจากที่ว่าการอำเภอไปทางทิศเหนือเป็นระยะทางประมาณ  25  กิโลเมตร

เขตปกครอง  รวม  10  หมู่บ้าน  คือ

หมู่ 1   บ้านตาเสา       ผู้ปกครอง        นายติก  อนันรัมย์            กำนัน

หมู่ 2   บ้านหว้า          ผู้ปกครอง        นายเสมียน  เยาวลักษณ์  ผู้ใหญ่บ้าน

หมู่ 3   บ้านทานตะวัน  ผู้ปกครอง        นายประเสริฐ เทวารัมย์    ผู้ใหญ่บ้าน

หมู่ 4   บ้านกระโดน     ผู้ปกครอง        นายถนอม  ทองจันทร์     ผู้ใหญ่บ้าน

หมู่ 5   บ้านมะขาม       ผู้ปกครอง        นายสงวน  พานิชรัมย์      ผู้ใหญ่บ้าน

หมู่ 6   บ้านตาเสา        ผู้ปกครอง        นายวิโรจน์  ทะรารัมย์      ผู้ใหญ่บ้าน

หมู่ 7   บ้านขาม           ผู้ปกครอง        นายบุญศรี  ทิสารัมย์       ผู้ใหญ่บ้าน

หมู่ 8   บ้านสามัคคี       ผู้ปกครอง        นายปี   เครือจันทร์         ผู้ใหญ่บ้าน

หมู่ 9   บ้านหนองแวง   ผู้ปกครอง        นายบุญจันทร์  ทะรารัมย์ ผู้ใหญ่บ้าน

หมู่ 10  บ้านบ่อทอง      ผู้ปกครอง       นายเย้ย  พนมรัมย์          ผู้ใหญ่บ้าน

เนื้อที่  ตำบลตาเสา  มีพื้นที่ตำบล  ตามประกาศกระทรวงมหาดไทยประมาณ  22,005.5  ไร่  หรือ  35.28  ตารางกิโลเมตร  เป็นเขตปกครององค์การบริหารส่วนตำบลตาเสา  ประมาณ  22,005.5  ไร่  หรือ  35.28  ตารางกิโลเมตร  เป็นตำบลค่อนข้างใหญ่  โดยมีเนื้อที่ทำนารวมทั้งหมด  16,290  ไร่  แยกเป็นรายหมู่บ้าน  ดังนี้

หมู่ที่

บ้าน

เนื้อที่(ไร่)

อันดับ

1

ตาเสา

2,500

5

2

หว้า

1,779

9

3

ทานตะวัน

2,210

6

4

กระโดน

1,215.5

10

5

มะขาม

2,700

2

6

ตาเสา

2,510

4

7

ขาม

2,800

1

8

สามัคคี

1,843

8

9

หนองแวง

2,520

3

10

บ่อทอง

1,928

7

 

การใช้ที่ดินในเขตองค์การบริหารส่วนตำบล

 

ลำดับที่

ประเภทการใช้ที่ดิน

พื้นที่(ไร่)

ร้อยละ

1

ที่พักอาศัย

400

1.82

2

เกษตรกรรม

16,290

74.03

3

ธุรกิจการค้า / พาณิชยกรรม

23

0.10

4

สถานศึกษา

40

0.18

5

ศาสนสถาน

80

0.36

6

สถานที่ราชการ

56

0.25

7

ถนนและที่สาธารณะ

400

1.82

8

อุตสาหกรรม

30

0.14

9

แหล่งน้ำ

180

0.82

10

อื่น ๆ

4,506.50

20.48

 

รวม

22,005.50

100

 

 

ระบบสาธารณูปโภค
30 พฤศจิกายน 542

0


1. การโทรคมนาคม

                   สถานีโทรคมนาคม (องค์การโทรศัพท์)    -  แห่ง

                   สถานีขยายสัญญาณโทรคมนาคม        3   แห่ง

                   ตู้โทรศัพท์                         จำนวน     -    ตู้

                   หอกระจายข่าว                            จำนวน   10   แห่ง

 

2. การไฟฟ้า

เขตตำบลตาเสา  เป็นชุมชนชนบท  ระบบการไฟฟ้าขยายทั่วถึงทั้งตำบล  ประชากรมีไฟฟ้าใช้ครบทุกครัวเรือนทำให้ประชาชนมีสิ่งอำนวยความสะดวก  คือ  มีเครื่องใช้ไฟฟ้าต่าง ๆ เกือบครบทุกครัวเรือน

3. ระบบประปา

ประชาชนในตำบลตาเสา  ได้รับการบริการด้านการประปาจากการประปาหมู่บ้านหนองแวง  ซึ่งได้ถ่ายโอนให้องค์การบริหารส่วนตำบลตาเสา  1  แห่ง  ก่อสร้างใหม่  4  แห่ง  รวมเป็น  5  แห่ง  จำนวนครัวเรือนที่ได้รับการบริการประมาณ    1,110   ครัวเรือน

การศึกษา

ในพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลตาเสา  มีโรงเรียนในพื้นที่ที่ขยายโอกาสทางการศึกษาจำนวน  2  โรงเรียน  คือ  โรงเรียนวัดบ้านตาเสา  และโรงเรียนบ้านมะขามทานตะวัน

การจัดการศึกษา   องค์การบริหารส่วนตำบลตาเสา ได้ดำเนินการตามโครงการถ่ายโอนภารกิจการจัดการศึกษาอนุบาล 2 ขวบ ซึ่งปฏิบัติตามนโยบายการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 มาตรา 78 และ พระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจแก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นพ.ศ. 2542 มาตรา 30 กระทรวงศึกษาธิการ มีนโยบายถ่ายโอนการจัดการศึกษาอนุบาล 2 ขวบ ให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินการในปีการศึกษา 2540 โดยให้โรงเรียนในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการประถมศึกษาแห่งชาติงดรับเด็กอนุบาล 2 ขวบเข้าเรียน  แต่ให้ความร่วมมือกับท้องถิ่นในการจัดการศึกษาอนุบาล 2 ขวบ โดยสนับสนุนด้านอาคารสถานที่ ด้านวิชาการและครูผู้ดูแลเด็กฯหรือผู้ดูแลเด็กฯ ให้ช่วยดำเนินการสอนต่อไป องค์การบริหารส่วนตำบลตาเสา ได้ดำเนินการจัดการเรียนการสอนเด็กก่อนวัยเรียน อนุบาล 2 ขวบ  จำนวน 2 ห้อง  ณ  ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กองค์การบริหารส่วนตำบลตาเสา  มีบุคลากรที่ทำหน้าที่ดูแลเด็กอนุบาล  จำนวน  10  คน และมีเด็กอนุบาล 2 ขวบ 5 เดือน ปีละประมาณ 90 - 120 คน

จำนวนเด็กปฐมวัยที่เข้าศึกษาในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก องค์การบริหารส่วนตำบลตาเสา  มีอัตราเพิ่มขึ้นเมื่อเปรียบเทียบจากปี  2555   เนื่องจากผู้ปกครองเด็กมีภาระหน้าที่ในการประกอบอาชีพ     ทำให้ไม่มีเวลาดูแลเด็กในปกครองของตนมากนัก  ประกอบกับองค์การบริหารส่วนตำบลตาเสา       มีศักยภาพพร้อมที่จะรับเด็กเข้ามาอยู่ในความดูแลขององค์กร  ไม่ว่าจะเป็นในด้านงบประมาณไปจนถึงด้านบุคลากร 

 

การสาธารณสุข

                   ตำบลตาเสา  มีโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล 1 แห่ง  คือ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหว้า  ตั้งอยู่ที่  บ้านหว้า  หมู่ที่ 2 โดยมีบุคลากรดังนี้

1.  นางกุลจิรา  รอดจันทึก                 ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ

2.  นางรัศมี  คำแก้ว                         พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ

3.  นายสัมฤทธิ์  หรั่งมา                     เจ้าพนักงานสาธารณสุข

4.  นางสาวอภิญญา  เกณรัมย์            เจ้าพนักงานทันตสาธารณ

5.  นางกาญจนา   เทวอนรัมย์            ผู้ช่วยเหลือคนไข้

6.  นางสาว....................                    พนักงานธุรการ

7.  นางอุ่น  จะเรรัมย์                          นวดแผนไทย

8.  นางอัญชิสา  นิสังรัมย์                    แม่บ้าน

ผู้สูงอายุ  ในเขตตำบลตาเสา  จำนวนประมาณ…600..คน  

ผู้พิการทุพพลภาพ    จำนวน…200.…คน  แบ่งเป็น

 เส้นทางคมนาคม

          การคมนาคมของตำบลตาเสา  มีถนนสายหลัก คือ ทางลาดยางสายห้วยราช – สตึก และถนน            ตาเสา – ระเบิก    อยู่ในความดูแลของทางหลวงชนบทและโยธาธิการจังหวัดบุรีรัมย์  มีการจราจรในแต่ละวัน ไม่ต่ำกว่าวันละ 1,000  คัน

          การคมนาคมภายในตำบล/หมู่บ้าน  รวมทั้งสิ้น  90,000 ตารางเมตร  แยกเป็น

                   -  ถนนสัญจรไปมาสะดวก          จำนวน  88,000  ตารางเมตร  คิดเป็น  97.70%

                   -  ถนนสัญจรไปมาไม่สะดวก       จำนวน    2,000  ตารางเมตร  คิดเป็น  2.30%